IoT Platform คือการตรวจวัดและแสดงผลแบบ Real-time จากระยะไกล ในขณะที่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบ SCADA แบบเก่าก็ได้เริ่มนำ IoT Platform เข้ามาทดแทนการใช้งานระบบ SCADA แบบเก่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเราจะชี้ให้เห็นข้อแตกต่างนี้
ก่อนอื่นนั้นต้องขอแนะนำให้คุณได้รู้จักกับ IoT ( ย่อมาจาก Internet of Things ) คือระบบที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต คุณสามารถสั่งการผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กับสิ่งนั้น ๆ ก็สามารถใช้งานได้ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการทำหน้าที่ตรวจวัดและแสดงผลแบบ Real-time จากระยะไกล ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบ SCADA แบบเก่าเพื่อจุดประสงค์นี้อยู่นั้น ก็ได้เริ่มนำ IIoT Platform เข้ามาทดแทนการใช้งานระบบ SCADA แบบเก่าเพิ่มมากขึ้น
สรุปข้อแตกต่างระหว่าง IoT Platform กับ SCADA แบบเก่า
•
การจัดเก็บข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลของระบบ SCADA แบบเก่าจะบันทึกบนพื้นที่ในระบบภายใน Local Network หรือ On premises ทำให้สามารถจัดเก็บได้อย่างรวดเร็วและไม่ต้องคำนึงถึงประมาณความถี่ของการรับส่งมากนัก
แต่ IoT Platform จัดเก็บข้อมูลไว้พื้นที่ที่อยู่บน Cloud-based ซึ่งจะทำให้มีความล้าช้าของข้อมูลบ้าง แต่จะได้เรื่องของความสะดวกในการจัดการกับข้อมูลที่จะนำไปส่งต่อให้ platform อื่น ๆ หรือการวิเคราะห์ในรูปแบบของ AI ก็จะทำได้สะดวกว่า
•
การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์
ใน SCADA การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ จะต้องนำเนินการโดยผู้สร้างหรือผู้ดูแลระบบในทุกครั้งที่มีอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อใหม่ และอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อก็จะต้อง ใช้โปโตคอลในงาน Automation โดยส่วนใหญ่ข้อมาจากเซ็นเซ็อร์จะต้องผ่าน PLC หรือ Remote IO ก่อนถึงจะส่งข้อมูลเข้าระบบ SCADA ได้
ส่วนในระบบของ IoT Platform นั้นระบบสามารถเพิ่มได้เองโดยอัตโนมัติ และยังเชื่อมไปที่เซ็นซอร์ได้โดยตรงโดยอาศัยโปรโตคอลที่ได้ร่วมในทุก ๆ อุปกรณ์ IoT device ที่มีชื่อว่า MQTT ทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่ต่อเข้ามาในระบบ IoT Platform
•
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและต้นทุน
ในระบบ SCADA ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ จะเกิดขึ้นทุก ๆ ครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบหรือเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่จะต้องเพิ่มเข้ามา รวมไปถึงการอัพเกรดเวอร์ชั่นรุ่นใหม่ ๆ ก็เช่นกันจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ส่วนในระบบของ IoT Platform นั้น จะไม่มีค่าใช่จ่ายการดำเนินการเพิ่มอุปกรณ์ ระบบจะสามารถเพิ่มได้โดยอัตโนมัติ อีกทั่งการใช้งานที่อยู่บน Cloud base แบบเช่าใช้ก็จะได้รับการอัพเกรดให้ใหม่อยู่เสมอ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าสามารถคาดการณ์ได้
•
ข้อมูลเชิงลึก
ฟังก์ชันของระบบ SCADA จะเน้นข้อมูลที่เป็น real-time, ข้อมูลย้อนหลัง และแจ้งเตือนเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ เน้นผู้ใช้งานที่เป็นระบบ Operation ที่อยู่กับหน้างานเป็นหลัก ซึ่งสิ่งที่ IoT platform สามารถทำได้เพิ่มมากว่าก็คือ การทำสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เชิงลึก โดยใช้การคำนวณขึ้นสูงกว่า อย่างระบบสถิติและ AI ทำให้มูลที่ได้สร้างประโยชน์ได้มากขึ้น เป็นประโยชน์ในการบริหารและการจัดการมากขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งที่ IoT platform สามารถทำได้เพิ่มมากว่าก็คือ การทำสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เชิงลึก โดยใช้การคำนวณขึ้นสูงกว่า อย่างระบบสถิติและ AI ทำให้มูลที่ได้สร้างประโยชน์ได้มากขึ้น เป็นประโยชน์ในการบริหารและการจัดการมากขึ้นด้วย
•
ความสามารถในการปรับขนาด
ในซอฟต์แวร์ SCADA ไม่ได้ถูกออกแบบมารองรับอุปกรณ์ที่จะเชื่อมได้เองทำให้ขยายขนาดของระบบให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ นั้นทำได้ค่อนข้างยากและไม่สะดวก ระบบที่ถูกออกแบบมาให้ใช้บนเครือข่ายภายใน Local Network เท่านั่น ทำให้เมื่อระบบใหม่ขึ้นมาก ๆ ก็จะมีความกังวลด้านความปลอดภัยอีกด้วย
IoT Platform มีความสามารถในต่ออุปกรณ์จำนวนมาก ๆ โดยอัตโนมัติ และประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ในเวลาเดียวกัน ก็ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย ข้อมูลทั้งหมดนี้ถูกส่งไปยังคลาวด์ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากทุกที่ในโลกสามารถดูและเข้าถึงได้ผ่านระบบ HMI ที่เชื่อมต่อกับคลาวด์ ภายใต้ความปลอดภัยที่ออกแบบสำหรับการใช้งานในโลก Internet โดยเฉพาะ
หลังจากเปรียบเทียบและประเมินทั้งสองระบบ ที่กล่าวถึงในบทความ เป็นที่ชัดเจนว่าการใช้ประโยชน์ของ IoT Platform จะเป็นประโยชน์มากกว่าในระยะยาว และในขอบข่ายที่ต้องการขยายขนาดก็ทำได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ การคาดการต้นทุนได้ ก็จะทำให้บริหารจัดการและวางแผนเรื่องค่าใช่จ่ายได้ดีกว่าเช่นกัน